พ่อแม่ต้องรู้: วางแผนการเงินเพื่อการศึกษาของลูก ควรเริ่มตอนไหน? และต้องเตรียมเงินเท่าไหร่?
เมื่อเริ่มต้นสร้างครอบครัว เราเองก็จะต้องเริ่มวางแผนหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิต โดยเฉพาะบ้านที่วางแผนจะมีลูก เพราะการเป็นพ่อแม่สำหรับหลายๆคนนั้น ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกโดยเฉพาะยังอยู่ในวัยเล็กๆ สิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้ามเลย คือการ วางแผนเรื่องของการเงินเพื่อการศึกษาของลูก ค่ะ
เพื่อนๆทราบไหมคะว่า “ค่าเล่าเรียน” ของลูกนั้นเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่วางแผนอยากให้ลูกเรียนโรงเรียนสองภาษา หรือ โรงเรียนนานาชาติ
เพราะค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในแต่ละปีนั้น อย่างน้อยๆ ต้องมีเลข 6 หลัก/ ปี/ คน
และที่สำคัญ ค่าเล่าเรียนในหลายๆโรงเรียนนั้นมักจะมีการปรับขึ้นทุกปีอีกด้วย
เพราะฉะนั้นการวางแผนการเงินสำหรับการศึกษาให้ลูกนั้น เราต้องคิดเผื่อค่าเล่าเรียนที่จะปรับขึ้นไปทุกๆปี จนลูกจบด้วยนะคะ


บทความนี้ “ลงทุนมัม” มีวิธีการวางแผนการเงินสำหรับการศึกษาให้ลูกแบบง่ายๆ มาเล่าให้ฟังค่ะ ถ้าบ้านไหนยังไม่ได้เริ่มวางแผน ก็สามารถนำไอเดียไปปรับใช้กันได้เลยนะคะ
ขั้นที่ เราจะเริ่มต้นด้วยการ หาข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา โดยการ
ศึกษาข้อมูลของโรงเรียนที่อยากให้ลูกเข้าเรียน หรือตั้งงบประมาณที่มีคร่าวๆ ว่าค่าใช้จ่ายต่อปีจะประมาณเท่าไหร่?
คำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยแบ่งเป็นตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย ว่าเราจะต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่? อย่าลืมคิดเรื่องของ อัตราค่าเล่าเรียนที่อาจจะมีปรับขึ้น รวมไปถึงเรื่องของเงินเฟ้อด้วยนะคะ
ขั้นที่ แบ่งเงินค่าใช้จ่าย ออกเป็นส่วนๆ
ค่าเล่าเรียนลูกในช่วงระยะสั้น ได้แก่ ค่าเล่าเรียนของลูกในช่วงอนุบาล (1 – 5 ปี) หรือ อายุ 2-6 ปี
ค่าเล่าเรียนลูกในระยะปานกลาง ได้แก่ ค่าเล่าเรียนในช่วงประถม,มัธยม
ค่าเล่าเรียนลูกในระยะยาว ได้แก่ ค่าเล่าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
ขั้นที่ เริ่มเตรียมเงิน
เงินค่าเล่าเรียนที่ต้องใช้ในช่วงระยะสั้นนั้น เป็นเงินก้อนที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมไว้ตั้งแต่เริ่มมีลูกเลยค่ะ ถ้าเตรียมได้ครบเต็มจำนวน ก็จะอุ่นใจมากยิ่งขึ้น
สำหรับเงินค่าเล่าเรียนที่ต้องใช้ในช่วงระยะปานกลาง (สำหรับลูกอายุ 6 – 18 ปี) นั้น คือ ค่าเล่าเรียนในช่วงประถม และ มัธยม ซึ่งจะเป็นเงินก้อนที่ค่อนข้างใหญ่กว่าในระดับอนุบาล เพราะเป็นช่วงเวลาเรียนที่ค่อนข้างนาน ตรงนี้ คุณพ่อ คุณแม่ควรจะต้องพิจารณารายรับ-รายจ่ายของครอบครัวในแต่ละปี ว่าสามารถที่จะแบ่งมาใช้สำหรับการศึกษาของลูกได้เท่าไหร่ และ อย่าลืมเผื่อเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ในยามจำเป็น และ เงินออมสำหรับการศึกษาของลูกในระยะยาวด้วยนะคะ
เงินค่าเล่าเรียนที่ต้องใช้ในระยะยาว หรือ สำหรับระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเงินก้อนนี้กว่าลูกของเราจะได้ใช้ยังมีเวลาอีกค่อนข้างนาน ซึ่ง คุณพ่อ คุณแม่ สามารถที่จะวางแผนการออมเงินหรือนำไปลงทุน เพื่อเตรียมเงินสำหรับก้อนนี้ได้ โดยนำเงินออมที่เราสำรองไว้จากรายรับ-รายจ่ายของครอบครัวในแต่ละปี สำหรับการศึกษาในระยะยาวของลูกมาเพื่อลงทุนต่อไป



สำหรับการเตรียมเงินค่าเล่าเรียนระยะปานกลางถึงยาว มีข้อดี คือ เรายังมีเวลาที่จะค่อยๆออมเงิน ไม่จำเป็นต้องเตรียมเงินให้พร้อมทั้งก้อน และเงินในส่วนนี้ถ้าวางแผนดีๆ เราสามารถนำไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยขึ้นมา และเพียงพอสำหรับลูกจนเรียนจบได้ด้วยนะคะ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า พ่อแม่จะสามารถออมเงินได้อย่างต่อเนื่องตามจำนวนปีที่ได้วางแผนไว้และ ครอบครัวมีการวางแผนป้องกันความเสี่ยง เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เผื่อพ่อแม่เจ็บป่วยลูกจะได้ไม่ต้องออกจากโรงเรียนไว้ด้วยนะคะ
“ลงทุนมัม” ได้ทำตารางการเตรียมเงินค่าเล่าเรียน (ดูได้จากรูปด้านล่าง) มาเปรียบเทียบให้ดูระหว่าง การออมเงินเก็บไว้ กับการนำเงินส่วนนี้ไปลงทุน (ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกัน) มาให้ดูเป็นไอเดียว่าการออมเงินในทางเลือกต่างๆ มีความแตกต่างของจำนวนเงินอย่างไรบ้าง
ตัวอย่างเช่น หากเราเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายการออมเงิน ที่ ออมเดือนละ 20,000 บาท ทุกๆเดือน โดยใน 1 ปี เราจะมีเงินสำหรับการออมเงินอยู่ที่ ปีละ 240,000 บาท แล้วลองเปรียบเทียบดูว่า หากเรานำเงินก้อนนี้มาลงทุนในอัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกัน (0%, 4%, 8%, 12% ต่อปี) ผลตอบแทนที่เราได้จะเป็นอย่างไร?



เป็นอย่างไรบ้างคะ เห็นตารางเปรียบเทียบนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนน่าจะเป็นเหมือน ลงทุนมัม คือ อึ้งไปเลย เห็นทีจะต้องเริ่มคิดและวางแผนลงทุนให้เงินทำงานกันบ้างแล้ว
อยากบอกว่า “ลงทุนมัม” ก็เริ่ม ลงทุนในค่าเล่าเรียนให้ลูกไปบ้างแล้วเหมือนกัน ซึ่งหนึ่งในการลงทุนที่เราเลือกก็คือ การลงทุนในกองทุนของ Jitta Wealth อย่างที่เคยเล่ากันไปคราวก่อน
โดย “ลงทุนมัม” เลือกลงทุนในกองทุน Global ETF เพราะ เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงไม่สูงมาก มีการกระจายความเสี่ยง ผ่านการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ พร้อม #ปรับพอร์ตอัตโนมัติ
เราเริ่มต้นลงทุนเมื่อปี 2564 ด้วยเงินลงทุน 200,000 บาท และลงทุนเพิ่มระหว่างปี รวมลงทุนไป 300,000 บาท ซึ่งในระหว่างทาง กองทุนมีการปรับพอร์ตอัตโนมัติไปบ้าง โดยใช้ Algorithm ของทาง JITTA WEALTH ให้ตรงกับเงื่อนไขของกองทุน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและกระจายความเสี่ยงไปกับการลงทุนทั่วโลก
การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง มีทั้งกำไรและขาดทุน ซึ่งในสภาพเศรษฐกิจตอนนี้ที่ตลาดผันผวนหนัก พอร์ตของเราเองก็ติดลบไปแล้ว -11% เช่นกัน แต่ก็ถือว่าติดลบไม่มากเทียบกับตลาดหุ้นทั่วโลก
การลงทุนนี้ เราวางแผนว่าจะลงทุนแบบระยะยาว ก็ต้องดูกันต่อไปว่า ระบบการลงทุนแบบปรับพอร์ตอัตโนมัติของ Jitta Wealth จะสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ตามเป้าหรือไม่ แล้วเราจะมาอัพเดตกันเรื่อยๆนะคะ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเพื่อนคนไหนต้องการเริ่มลงทุน แนะนำให้ประเมินความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลการลงทุนและวางแผนให้ดีก่อนตัดสินใจนะคะ
สำหรับใครที่ยังไม่ได้เริ่มต้น วางแผนการเงินเพื่อการศึกษาของลูก ปีใหม่นี้ก็ถือเป็นปีที่ดีในการเริ่มต้น เพื่อนๆคนไหนที่วางแผนการเงินให้ลูกแล้ว มีไอเดียอย่างไร มาแชร์ให้ “ลงทุนมัม” ฟังกันบ้างนะคะ